I. เลวร้ายกว่าสมมุติภาพที่เลวร้ายที่สุด
เส้นทางเดินในปัจจุบันของเราเกี่ยวกับอากาศที่เปลี่ยนแปลงนั้นเลวร้ายกว่าสมมุติภาพที่เลวร้ายที่สุดตามที่คาดการณ์ไว้โดยคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยอากาศที่เปลี่ยนแปลง (ไอพีซีซี ) ด้วยผลกระทบที่สร้างความเสียหายและมักถึงแก่ชีวิตที่เห็นได้จากเหตุการณ์รุนแรงต่าง ๆ เช่น พายุเฮอร์ริเคน น้ำท่วม ความแห้งแล้ง และคลื่นความร้อน
แม้ว่าโลกจะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ดาวเคราะห์จะต้องใช้เวลาในการฟื้นตัวจากก๊าซที่มีอยู่แล้วในบรรยากาศ
นั้นคือเหตุผลที่มันจำเป็น ที่จะมุ่งประเด็นไปที่ก๊าซอายุสั้นที่มีชื่อว่ามีแทน มีเทนเก็บกักความร้อนได้มากกว่า CO2 ถึง 72 เท่า ในช่วงเวลา 20 ปีโดยเฉลี่ย แหล่งของมีเทนที่ใหญ่ที่สุดคืออุตสาหกรรมปศุสัตว์ซึ่งเป็นหนึ่งในสาเหตุลำดับต้น ๆ ของภาวะโลกร้อนที่ต้องได้รับการหยุดยั้ง
แต่ก่อนอื่น ฉันขอแบ่งปันหลักฐานล่าสุด ซึ่งเป็นเพียงบางส่วนของผลกระทบจากสภาวะอากาศที่เปลี่ยนแปลงที่มีต่อชีวิตของมนุษย์และสัตว์
น้ำแข็งอาร์คติกและแอนตาร์คติกละลาย
การละลายของอาร์คติก
อาร์คติกหรือขั้วโลกเหนืออาจปลอดน้ำแข็งภายในปี 2012 หรือ 70 ปีก่อนเวลาที่ไอพีซีซีได้ประเมินไว้ เมื่อปราศจากน้ำแข็งที่คอยปกป้องด้วยการช่วยสะท้อนแสงอาทิตย์ 90 เปอร์เซ็นต์ของความร้อนจากดวงอาทิตย์สามารถเข้าสู่น้ำที่ไม่มีอะไรปกคลุม ซึ่งจะยิ่งเร่งให้เกิดภาวะโลกร้อน 16
การเปลี่ยนแปลงที่ผิวน้ำแข็งอาร์คติกเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ผู้เชี่ยวชาญด้านภูมิอากาศกล่าวว่า มีเพียง 10 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นในตอนนี้ที่เป็นน้ำแข็งเก่าและหนา ในขณะที่มากกว่า 90% เป็นน้ำแข็งที่ก่อตัวขึ้นใหม่และบาง 17
“วงจรตอบสนอง” และภาวะโลกร้อนที่ไม่สามารถควบคุมได้
หากน้ำทะเลอุ่นขึ้น น้ำแข็งก็จะยิ่งละลายเร็ว และเมื่อน้ำแข็งละลาย ก็จะไม่มีการสะท้อนความร้อนกลับสู่อวกาศ แล้วความร้อนนั้นก็จะยิ่งละลายน้ำแข็ง และทำให้น้ำอุ่นขึ้นไปอีก
และสองสิ่งนี้ก็จะช่วยละลายน้ำแข็งเพิ่มมากขึ้น และทำให้โลกร้อนมากขึ้น คุณจึงเห็นได้ถึงวัฎจักรอันเลวร้าย
นั่นคือเหตุผลที่นักวิทยาศาสตร์ไม่สามารถพยากรณ์ได้ดีนักก่อนหน้านี้ แต่พวกเขาก็มีความระวังอย่างมากในตอนนี้ พวกเขากำลังคอยจับตาสถานการณ์อย่างดี แค่ว่าเราไม่ได้ทำสิ่งต่าง ๆ อย่างรวดเร็วพอ18
ที่มาของข้อมูล: ศูนย์ข้อมูลหิมะและน้ำแข็งแห่งชาติ http://nsidc.org/arcticseaicenews/index.html
น้ำแข็งละลายที่กรีนแลนด์และแอนตาร์คติก
ขณะที่แผ่นน้ำแข็งขนาดใหญ่ของกรีนแลนด์และแอนตาร์คติกกำลังละลายอย่างต่อเนื่อง มหันตภัยจากระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้นและพายุที่รุนแรงขึ้นก็เป็นที่คาดว่าจะเกิดตามมา หากแผ่นน้ำแข็งที่แอนตาร์คติกฝั่งตะวันตกทั้งหมดละลาย ระดับน้ำทะเลโดยเฉลี่ยทั่วโลกจะสูงขึ้นอีก 3.3 – 3.5 เมตร (10.8 – 11.8 ฟุต) เป็นอย่างน้อย 19 ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อประชากรกว่า 3.2 พันล้านคน -คิดเป็นครึ่งหนึ่งของประชากรโลก -ผู้ที่อาศัยอยู่ในระยะ 200 ไมล์จากชายฝั่ง
นักวิทยาศาสตร์จากศูนย์ข้อมูลหิมะและน้ำแข็งแห่งชาติสหรัฐอเมริกากล่าวว่า หากแอนตาร์คติกละลายหมดในตอนนี้ ระดับน้ำทะเลอาจสูงขึ้นเกินระดับที่ประเมินไว้ บางท่านกล่าวว่า อาจสูงถึง 70 เมตร (230 ฟุต) ด้วยซ้ำไป ซึ่งหมายถึงอันตรายถึงชีวิตของทุกชีวิตบนโลก20
ที่ดินจมลงและผู้ลี้ภัยจากสภาพอากาศ
เนื่องจากระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น เกาะต่าง ๆ กำลังจมลง ขณะที่เรากำลังพูดกันอยู่ในตอนนี้ โดยที่ประเทศตูวาลู ตองก้า และประเทศหมู่เกาะอื่น ๆ อีก 40 แห่ง มีแผนที่จะอพยพทั้งประเทศของพวกเขา
รายงานหนึ่งจากองค์กรนานาชาติด้านการย้ายถิ่นฐานแถลงว่า อาจมี 200 ล้านถึงหนึ่งพันล้านคนที่จะเป็นผู้ลี้ภัยจากสภาพอากาศภายในปี 2050 หรือภายในช่วงชีวิตของพวกเรา 21 เหล่านี้คือผู้ที่ต้องละทิ้งเกาะหรือบ้านตามชายฝั่งของพวกเขา เนื่องจากระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น หรือการละลายของเพอร์มาฟรอสต์ ซึ่งทำให้ทั่วทั้งชุมชนหรือทั้งประเทศจมลงและพังทลาย22
(โปรดดูที่ภาคผนวก 1 สำหรับข้อมูลการสูงขึ้นของระดับน้ำทะเลและผลกระทบที่มีทั่วโลก)
ที่มาของข้อมูล: ไอพีซีซี – การประเมินครั้งที่สี่ , 111, รูปที่ 1
มีเทน ไฮเดรต: ระเบิดเวลาที่กำลังทำงาน
การเปลี่ยนแปลงอีกอย่างหนึ่งของอาร์คติกก็คือ การละลายของชั้นเพอร์มาฟรอสต์เปลือกโลกที่เย็นแข็งตามปกติซึ่งกักเก็บก๊าซมีเทนไว้ (มีเทน ไฮเดรต) การละลายของชั้นเพอร์มาฟรอสต์นี้ ในระยะเวลาไม่กี่ปีที่ผ่านมาได้ก่อให้เกิดการปล่อยก๊าซมีเทนสู่บรรยากาศที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วตั้งแต่ปี 2004 23
ภาวะโลกร้อนที่อุณหภูมิสูงขึ้นสององศาเซลเซียส สามารถก่อให้เกิดก๊าซมีเทนเพิ่มขึ้นถึงสองพันล้านตัน (ไฮเดรตจากก้นมหาสมุทร) ซึ่งถูกปล่อยสู่บรรยากาศ นำไปสู่สูญพันธุ์มหาศาลของชีวิตบนโลก
“อุณหภูมิที่สูงขึ้นเพียงแค่สองถึงสามองศาจะทำให้ก๊าซเหล่านี้ระเหยขึ้นมาและ ‘ออก’ สู่บรรยากาศ ซึ่งจะยิ่งทำให้อุณหภูมิสูงขึ้น และจะทำให้มีการปล่อยมีเทนมากขึ้นไปอีกซึ่งทำให้โลกและทะเลอุ่นขึ้นเรื่อย ๆ ฯลฯ มีมีเทนอยู่ 400 กิกะตัน ถูกเก็บกักไว้ในเขตน้ำแข็งอาร์คติกทุนดร้า – มากพอที่จะจุดชนวนปฏิกิริยาห่วงโซ่นี้... เมื่อใดที่มีการจุดชนวนนี้เกิดขึ้น วงจรดังกล่าวจะก่อให้เกิดภาวะโลกร้อนที่ไม่สามารถหยุดยั้งได้” 24
นักธรณีวิทยา: จอร์จ แอทเชสัน
มันไม่ใช่แค่การสูงขึ้นของระดับน้ำทะเลที่เราเป็นห่วง มันคือก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟต์และมีเทน และก๊าซอีกนานาชนิดในมหาสมุทร25 และน้ำแข็งก็จะละลายมากขึ้น หากมีเทนออกจากเพอร์มาฟรอสต์ ฯลฯ และจากมหาสมุทรด้วย ผนวกกับที่มาจากการปศุสัตว์และการเลี้ยงสัตว์ มันผนวกรวมกันและมันจะอยู่ในชั้นบรรยากาศเป็นเวลานาน
ณ ที่จุดไม่อาจหวนคืน สิ่งนั้นจะเป็นการกลิ้งลงเขา ไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดที่สามารถเกิดขึ้นได้อีก ไม่มีใครสามารถช่วยได้ในเวลานั้น และอาจไม่มีใครรอดชีวิต หรืออาจจะมีน้อยมาก
เมื่อโลกนี้ถูกทำลาย มันก็จะเป็นเหมือนดาวอังคารที่ไม่สามารถอาศัยอยู่ได้ และมันใช้เวลาหลายล้านปี บางครั้งหลายร้อยล้านปีกว่าดาวเคราะห์จะฟื้นตัว หากว่ามันจะฟื้นตัวได้
ยิ่งเราทำการเปลี่ยนแปลงได้เร็วเท่าไร จะยิ่งดี และเมื่อนั้นเราจะสามารถเยียวยาสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง และเราสามารถฟื้นฟูโลกนี้ได้อย่างรวดเร็วในเวลาอันสั้น แต่หากเราไม่ทำ โลกก็จะถูกทำลายอย่างรวดเร็วในระยะเวลาอันสั้น
การลดลงของธารน้ำแข็งและการขาดแคลนน้ำ
ผลกระทบจากการลดลงของธารน้ำแข็ง
ธารน้ำแข็งส่วนใหญ่ของโลกจะหายไปภายในสองถึงสามทศวรรษ ซึ่งจะเป็นอันตรายต่อการอยู่รอดของประชากรมากกว่าสองพันล้านคน หนึ่งพันล้านคนของประชากรเหล่านี้จะต้องได้รับความลำบากจากผลกระทบของการที่ธารน้ำแข็งในหิมาลัยลดลงในอัตราเร็วมากกว่าที่อื่นใดในโลก สองในสามของพื้นที่ธารน้ำแข็งกว่า 18,000 แห่งกำลังหดตัวลง26
ผลกระทบในเบื้องต้นของธารน้ำแข็งละลายก็คือน้ำท่วมและดินถล่มซึ่งมีอำนาจทำลายล้าง ขณะที่ธารน้ำเข็งกำลังหดตัวลงต่อไป ผลที่ตามมาก็คือ การลดลงของน้ำฝน ความแห้งแล้งอันเลวร้าย และการขาดแคลนน้ำ 27
สภาพอันเลวร้านของธารน้ำเข็งในโลก
ในรัฐมอนทาน่า [สหรัฐอเมริกา] ธารน้ำแข็งอันที่มีชื่อเสียงของอุทยานแห่งชาติกลาเซียร์ ขณะนี้เป็นที่คาดกันว่าจะหายไปภายในสิบปี28 แม่น้ำโคโลราโด้ [มีต้นกำเนิดมาจากหิมะ] ซึ่งจ่ายน้ำให้กับรัฐทางภาคตะวันตกทั้งเจ็ด ก็กำลังแห้งเหือดไป29
เปรูเป็นบ้านของ 70% ของธารน้ำแข็งแอนดีนทั้งหมด ซึ่งยอดเขาน้ำแข็งนั้นเป็นทั้งแหล่งน้ำและแหล่งพลังงานไฟฟ้ากำลังน้ำให้ประชากรของประเทศ ธารน้ำแข็งเหล่านี้คาดว่าจะหายไปภายในปี 2015 ซึ่งก็อีกเพียงสองสามปีข้างหน้า 30
(โปรดดูที่ภาคผนวก 2 สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมในเรื่องการลดลงของธารน้ำแข็งทั่วโลก)
การจับปลามากเกินไป พื้นที่มรณะและการเป็นกรดของมหาสมุทร
คณะกรรมการพูว์ซึ่งมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่สหรัฐอเมริกา พบว่าการจับปลาที่มากเกินไปเป็นภัยคุกคามที่ใหญ่ที่สุดต่อระบบนิเวศทางทะเล ตามด้วยของเสียที่มาจากการเกษตร รวมทั้งมูลของสัตว์จากการปศุสัตว์ และปุ๋ยที่ใช้ในการเพาะปลูกอาหารเลี้ยงสัตว์ 31
สภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงกำลังก่อให้เกิดพื้นที่มรณะในทะเล ซึ่งขณะนี้มีมากกว่า 400 แห่ง (พื้นที่มรณะ) เหล่านี้ เกิดขึ้นเนื่องจากปุ๋ยที่ไหลออกมาจำนวนมากจากการปศุสัตว์ ส่งผลให้เกิดการขาดออกซิเจนซึ่งจำเป็นต่อการค้ำจุนชีวิต32
น้ำที่เป็นสีแดงจากมลพิษ ซึ่งเกิดจากบริเวณมรณะที่
ที่มาของข้อมูล: “การสูญเสียสายพันธุ์ทางทะเลทั่วโลกที่เพิ่มมากขึ้น
กำลังคุกคามความเป็นอยู่ที่ดีของมนุษย์”, Science,
และ B.Worm et al., "Impacts of Biodiversity Loss on Ocean Ecosystem Services"
นักวิทยาศาสตร์ประเมินว่า มากกว่า 90% ของปลาขนาดใหญ่ในมหาสมุทรได้หายไปในช่วง 50 ปีที่ผ่านมาเนื่องจากการประมง 33
พวกเขาเตือนว่า ณ อัตราการจับปลาในปัจจุบัน จะเกิดการล่มสลายของทุกเผ่าพันธุ์ชีวิตทั่วโลกภายในปี 2050 และกล่าวว่า ความพยายามในการฟื้นฟูจำเป็นต้องเริ่มต้นทันที 34
การขาดแคลนปลาบางชนิดทำให้เกิดภาวะเป็นกรดที่สูงขึ้นในมหาสมุทร ซึ่งส่งผลให้มหาสมุทรมีขีดความสามารถที่จะดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ลดลง
ปลาวาฬและปลาโลมาจึงถูกกดดันให้ว่ายออกจากมหาสมุทร เนื่องจากสภาวะที่เลวร้ายลงทำให้พวกเขารู้สึกอึดอัด บ้างก็ครั้งละหลายร้อยตัว พวกเขากำลังตายบนชายหาด เพราะพวกเขาไม่สามารถทนกับสภาพที่เป็นพิษในน้ำทะเลได้อีกต่อไป35
สภาพอากาศที่รุนแรง
สิบปีที่ผ่านมา ได้เห็นอุณหภูมิประจำปีมีค่าเฉลี่ยร้อนที่สุดเกิดขึ้นอย่างน้อยสองครั้งตามที่เคยมีการบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์ของโลกเรา ในปี 2003 คลื่นความร้อนสูงเป็นประวัติการณ์ได้เกิดขึ้นที่ยุโรป โดยคร่าชีวิตไปมากกว่าหลายหมื่นชีวิต คลื่นความร้อนยังนำมาซึ่งไฟป่าครั้งร้ายแรงที่สุดเป็นประวัติการณ์ของออสเตรเลีย 36
รัฐพิวบลา (ในเม็กซิโก) ได้เห็นการเพิ่มขึ้นของไฟป่าในสองสามปีที่ผ่านมา ฝนลดลง 200 ลิตรต่อตารางเมตร (มี) อุณหภูมิเฉลี่ยประจำปีเพิ่มขึ้นที่ 17.5 องศาเซลเซียส อุณหภูมิในฤดูหนาวตอนนี้ก็สูงกว่าปกติ
ห้าปีที่ผ่านมา [2003-2007] เปรูเกิดเหตุการณ์อุณหภูมิสุดขั้วและน้ำท่วมอย่างน้อยสามครั้ง ซึ่งส่งผลกระทบต่อประชากรมากกว่า 500,000 คน ภายในระยะเวลาเพียง 30 ปี น้ำท่วมเกิดมากขึ้นกว่า 60% และมีโคลนถล่มมากขึ้นถึง 400%37 ประธนาธิบดี การ์เซีย [ชาวเปรู] ได้ประกาศภาวะฉุกเฉินในปี 2009 เนื่องจากผลกระทบของสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง ความหนาวเย็นที่รุนแรงและสภาพเยือกแข็งในแอนดีสตอนใต้ ทำให้เด็ก ๆ เสียชีวิต เกือบ 250 คน และทำให้ผู้คนเจ็บป่วยอีกมากมาย38
(โปรดดูที่ภาคผนวก 3 สำหรับข้อมูลล่าสุดเรื่องสภาพอากาศที่รุนแรงทั่วโลก)
สภาพอากาศไม่ได้นิยามอยู่แค่อุณหภูมิเฉลี่ยและปริมาณน้ำฝนเท่านั้น แต่ด้วยชนิด ความถี่ ความรุนแรงของสภาพอากาศที่เกิดขึ้นจากมนุษย์ มีศักยภาพในการเปลี่ยนแปลงความถี่และความรุนแรงของภัยพิบัติ เช่น คลื่นความร้อน คลื่นความหนาวเย็น พายุ น้ำท่วมและความแห้งแล้ง39
- หน่วยงานด้านการพิทักษ์สิ่งแวดล้อมแห่งสหรัฐอเมริกา
ภัยธรรมชาติที่เเกิดขึ้นบ่อยครั้ง
ความแห้งแล้ง การเกิดทะเลทราย และไฟป่า
องค์การสหประชาชาติกล่าวว่า การเกิดทะเลทราย ซึ่งมักเป็นผลมาจากการตัดต้นไม้มากเกินไป และความเสียหายที่เกิดจากกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การปลูกหญ้าเพื่อเลี้ยงโค กระบือ ก็ส่งผลกระทบต่อสภาพความเป็นอยู่ของผู้คนกว่า 1.2 พันล้านคน ในมากกว่า 100 ประเทศที่มีความเสี่ยง 40
แหล่งน้ำจืดอันล้ำค่ากำลังเหือดแห้งไป อย่างเช่น ชั้นหินอุ้มน้ำที่อยู่ใต้เมืองสำคัญ อย่างเช่น ปักกิ่ง เดลฮี กรุงเทพฯ และอีกหลายพื้นที่ เช่น ภาคตะวันตกตอนกลางของสหรัฐอเมริกา ขณะที่แม่น้ำคงคา แม่น้ำจอร์แดน แม่น้ำไนล์ และแม่น้ำแยงซี ก็มีกระแสน้ำที่ไหลเอื่อยลงอย่างมากในรอบปี
ในการเกิดภัยแล้งที่ประเทศจีนครั้งเลวร้ายที่สุดในรอบห้าสิบปี [ในปี 2009] การเพาะปลูกที่จำเป็นได้สูญเสียไปใน 12 จังหวัดทางภาคเหนือ ทำให้ประเทศสูญเงินหลายพันล้านเหรียญสหรัฐฯ สำหรับการบรรเทาภัยแล้งให้กับเกษตรกร41
ในปี 2009 ที่เนปาลและออสเตรเลีย ไฟป่าได้ทวีความรุนแรงขึ้นเนื่องจากความแห้งแล้ง42 ที่แอฟริกา ประชากรในโซมาเลีย เอธิโอเปีย และซูดาน และอื่น ๆ อีกมากมาย ผจญกับความยากลำบากจากความแห้งแล้ง
นักวิจัยกล่าวว่า สหรัฐอเมริกาฝั่งตะวันตกกำลังเผชิญกับวิกฤติความแห้งแล้งอันเลวร้าย เนื่องจากหิมะบนภูเขากำลังปล่อยน้ำจากแหล่งเก็บน้ำขนาดใหญ่ในจำนวนมหาศาล
(โปรดดูที่ภาพผนวก 4 สำหรับข้อมูลความแห้งแล้งและภัยพิบัติจากไฟป่าทั่วโลก)
พายุและน้ำท่วมที่เกิดขึ้นบ่อยครั้ง
ความรุนแรงและความยาวนานของเฮอริเคนและพายุโซนร้อน ได้ถูกบันทึกไว้ว่าเพิ่มสูงขึ้น 100% ในรอบ 30 ปีที่ผ่านมา ซึ่งนักวิทยาศาสตร์จากสถาบันเทคโนโลยีแห่งแมสซาจูเสทส์ (เอ็มไอที) สหรัฐอเมริกา กล่าวว่ามีความเป็นไปได้ที่เกิดจากอุณหภูมิของมหาสมุทรสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
นักวิจัยแห่งสถาบันเทคโนโลยีแห่งจอร์เจีย สหรัฐอเมริกา กล่าวว่า พายุเฮอร์ริเคนระดับ 4 และ 5 ทั่วโลกได้เกิดบ่อยขึ้นสองเท่าในรอบ 35 ปีที่ผ่านมา พายุระดับ 5 ทำให้เกิดการทำลายล้างระดับสูงสุดในเมืองสำคัญๆ ความรุนแรงและความยาวนานของมันก็เพิ่มขึ้นถึง 75% นับตั้งแต่ปี 1970
หนึ่งในพายุเหล่านี้ซึ่งผลกระทบยังคงเห็นและรับรู้ได้ ก็คือ เฮอร์ริเคนทำลายล้างแคทริน่าในปี 2005 โดยเฉพาะในพื้นที่รัฐนิวออร์ลีนส์ ผู้คนยังคงดิ้นรนที่จะฟื้นฟูบ้านเรือนและชีวิตของพวกเขาในตอนนี้
องค์การบริหารด้านมหาสมุทรและบรรยากาศแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา กล่าวว่า เป็นครั้งแรกในประวัติสาสตร์ที่มีการบันทึกไว้ ที่พายุไซโคลนเขตร้อนเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องกันหกครั้งในปี 2008 ทำให้เกิดแผ่นดินถล่มที่สหรัฐอเมริกา
มหาสมุทรแอตแลนติกเหนือและมหาสมุทรอินเดีย คือสองพื้นที่ที่มีแนวโน้มการเกิดพายะเฮอร์ริเคนที่รุนแรงที่สุด
(โปรดดูที่ภาคผนวก 5 สำหรับข้อมูลด้านภัยน้ำท่วมทั่วโลกครั้งสำคัญ ๆ)
งานบรรเทาสาธารณภัยของสมาคนานาชาติ
อนุตราจารย์ชิงไห่ที่ปากีสถาน ในปี 2010
งานบรรเทาสาธารณภัยของสมาคมนานาชาติ
อนุตราจารย์ชิงไห่ที่เฮติ ในปี 2010
แผ่นดินไหว
นักวิทยาศาสตร์พบว่า แผ่นดินไหวมีส่วนเกี่ยวข้องกับภาวะโลกร้อน เนื่องจากการละลายของน้ำแข็งขั้วโลกเหนือและตอนใต้ของกรีนแลนด์ การเปลี่ยนแรงดันของแผ่นเปลือกโลกทำให้เกิดการเคลื่อนตัวซึ่งสามารถทำให้เกิดแผ่นดินไหว
หนึ่งในหายนะที่น่าสลดใจที่สุดของยุคเราก็คือสึนามิ [ซึ่งเป็นผลมาจากแผ่นดินไหว] ซึ่งเกิดขึ้นที่ [อินโดนีเซีย] ในปี 2004 นำมาซึ่งความเศร้าโศกอย่างมากต่อชาวอินโดนีเซียและชาวโลก
(โปรดดูที่ภาคผนวก 6 สำหรับข้อมูลล่าสุดเกี่ยวกับภัยพิบัติแผ่นดินไหวทั่วโลก)
การระบาดของแมลง
ที่สหรัฐอเมริกา ป่าสนเกือบหนึ่งล้านเอเคอร์ได้สูญไปในภูเขาร๊อคกี้ เนื่องจากการระบาดแมลงปีกแข็ง อันเนื่องมาจากภาวะโลกร้อน [เหตุการณ์] เช่นเดียวกันนี้เกิดขึ้นที่แคนาดา
การทำลายป่า
ป่าฝนคือปอดของโลกเรา เมื่อต้นไม้ถูกโค่น พืชก็จะไม่มีที่กำบังและเหี่ยวแห้งไป มันจะยิ่งปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์แทนที่จะดูดซับมัน สิ่งนี้เป็นอันตรายอีกอย่างหนึ่งที่กำลังจู่โจมเรา
ที่บราซิล นับตั้งแต่ปี 1970 90% ของพื้นที่ป่าถูกทำลายไปเพื่อเปลี่ยนให้เป็นทุ่งหญ้าเลี้ยงปศุสัตว์ หรือให้อาหารสัตว์ 43 ป่าเขียวชอุ่มกำลังถูกเปลี่ยนเป็นทุ่งที่แห้งแล้งในอัตราเร็วที่ 36 สนามฟุตบอลต่อนาที ซึ่งกำลังเกิดขึ้นขณะที่เรากำลังพูดกันอยู่นี้ 44
และทางตอนใต้ของเม็กซิโก ป่าเขตร้อนซึ่งครั้งหนึ่งปกคลุมเกือบครึ่งหนึ่งของรัฐทาบาสโก้ มีขนาดลดลงจนเหลือน้อยกว่า 10% ของขนาดเดิม ในขณะเดียวกันทุ่งหญ้าเลี้ยงปศุสัตว์ได้เพิ่มขึ้นเป็น 60% ของพื้นที่ทั้งหมดของประเทศ 45
นอกจากนี้ในประเทศอย่างอาร์เจนติน่าและปารากวัย มีป่าไม้ถูกโค่นมากขึ้นเรื่อย ๆ เพื่อใช้สำหรับการปศุสัตว์และปลูกถั่วเหลือง อาร์เจนติน่าได้สูญเสียป่าไม้ไปแล้ว 70% 46
อินโดนีเซียมีป่าฝนขนาดใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสามของโลก ซึ่งเป็นรองเพียงป่าอเมซอนและคองโกเท่านั้น แน่นอนว่า ป่าฝน [อินโดนีเซีย] กำลังหายไปในอัตราเร็วที่น่าตกใจที่หนึ่งสนามฟุตบอลต่อนาที องค์การสหประชาชาติกล่าวว่า 98% ของป่าไม้ทั้งหมดอาจสูญสิ้นไปภายในระยะเวลาเพียง 15 ปี 47
ป่าฝนอเมซอนเก็บคาร์บอนไดออกไซด์ไว้มากกว่าที่มนุษย์ผลิตก๊าซเรือนกระจกในระยะเวลา 10 ปี นอกจากนี้เมื่อเราเผาป่า เราก็จะปล่อยคาร์บอนดำซึ่งเป็นอนุภาคเขม่าควันเล็ก ๆ ที่ดักจับความร้อนได้ 680 เท่าของคาร์บอนไดออกไซด์ในปริมาณที่เท่ากัน 48
การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ
นักนิเวศวิทยาชั้นนำกล่าวว่า สัตว์ป่าลดจำนวนลงอันเนื่องมาจากการสูญพันธุ์ของสปีชีส์ต่าง ๆ อย่างรวดเร็วจนไม่มีสิ่งใดเทียบได้ในปัจจุบัน นักวิทยาศาสตร์ยังได้ทำนายอีกว่า สายพันธุ์ในโลกที่ถูกคุกคามทั้ง 16,000 สายพันธุ์อาจสูญพันธุ์เร็วขึ้น 100 เท่า เมื่อเทียบกับที่เคยคาดการณ์ไว้ในอดีต
"นักชีววิทยาแห่งฮาร์วาร์ดผู้มีชื่อเสียง เอ็ดเวิร์ด โอ. วิลสัน และนักวิทยาศาสตร์ท่านอื่นๆ ได้ประเมินว่า อัตราการสูญพันธุ์ที่แท้จริงน่าจะอยู่ที่ 1,000 หรือ 10,000 เท่า เมื่อเทียบกับอัตราเร็วตามปกติ โดยที่ระหว่าง 2.7 และ 270 สายพันธุ์ กำลังถูกลบหายไปในแต่ละวัน" 49
—จูเลีย วิทตี้
"20% - 40% ของสายพันธุ์สิ่งมีชีวิตบนโลก ดูเหมือนจะสูญพันธุ์ไปในช่วงศตวรรษปีนี้ ซึ่งเป็นผลมาจากภาวะโลกร้อนเพียงอย่างเดียว โดยไม่มีปัจจัยอื่นๆ" 50
—คณะทำงานรัฐบาลนานาชาติ ด้านภาวะภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง
การขาดแคลนน้ำ
การลดลงของปริมาณน้ำก่อให้เกิดความตึงเครียดที่บานปลาย รวมถึงความขัดแย้งที่เกิดขึ้นจากการที่ผู้คนมากมาย รวมทั้งชาวนายากจน ไม่มีน้ำเพียงพอหรือกำลังดิ้นรนเพื่อให้ได้น้ำในส่วนของพวกเขา
มีแม่น้ำและทะเลสาบอีกหลายหมื่นแห่งทั่วโลกที่กำลังเหือดแห้งไป ผู้คนกำลังเสียชีวิตจากความแห้งแล้ง ประชากรกำลังละทิ้งหมู่บ้านของพวกเขา บ้านเกิดของพวกเขา เพราะพวกเขาไม่มีน้ำดื่มอีกแล้ว 51
ประชากรหนึ่งพันล้านคน ไม่สามารถเข้าถึงน้ำที่สะอาดและปลอดภัย และเด็ก ๆ 1.8 ล้านคน เสียชีวิตทุก ๆ ปี เนื่องจากการเจ็บป่วยจากน้ำที่ปนเปื้อน 52
การขาดแคลนอาหาร
องค์การสหประชาชาติประกาศว่า ในปี 2009 โลกกำลังพบกับประชากรผู้หิวโหยจำนวนมากที่สุดในรอบสี่สิบปี มีประชากร 1.02 พันล้านคนในโลกที่ไม่ได้รับอาหารอย่างเพียงพอ53
ที่เปรู เนื่องจากความร้อนและความแห้งแล้งที่สูงเกินไปในรอบ 12 ปีที่ผ่านมา พื้นที่เพาะปลูกมันฝรั่งและข้าวโพด 140,000 เฮกเตอร์ ได้ถูกทำลาย คิดเป็นปริมาณอาหารที่ใช้เลี้ยงประชากรได้ 11 ล้านคน
[ที่แอฟริกา] ซิมบับเว โซมาเลีย มอว์ริเชียส โมซัมบิค และซูดาน – ขอกล่าวถึงเพียงไม่กี่ประเทศ – กำลังประสบกับความแห้งแล้งอันเลวร้ายซึ่งทำให้ยากต่อการปลูกพืช นอกเหนือจากปัญหาการขาดแคลนอาหารและราคาอาหารเพิ่มสูงขึ้นที่มีอยู่แล้ว
นอกจากปัญหาความแห้งแล้งและการทำลายป่าที่สร้างความเสื่อมโทรมให้แก่พื้นดิน อุณหภูมิที่เพิ่มสูงขึ้นทำให้เกิดฝนที่ตกไม่เป็นไปตามฤดูกาล – ไม่ว่าจะน้อยเกินไปหรือมากเกินไปในช่วงเวลาหนึ่ง – เราจึงมีน้ำท่วมที่ทำให้พืชผลจมน้ำ และไฟป่า
ผลกระทบของภาวะภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงเหล่านี้ ทำให้เกิดความไม่มั่นคงทางอาหารและวิกฤติอาหารมากยิ่งขึ้น
(โปรดดูที่ภาคผนวก 7 สำหรับข้อมูลด้านภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงและการขาดแคลนอาหารทั่วโลก)
สุขภาพของมนุษย์
ประชาชนกำลังทุกข์ทรมานจากภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลง
จากการวิจัยของสวิสเซอร์แลนด์ ภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงเป็นสาเหตุของการเสียชีวิต 315,000 รายต่อปี และประชาชนอีก 325 ล้านคนได้รับผลกระทบขั้นรุนแรง54 สิ่งนี้ยังไม่รวมถึงการสูญเสียทางเศรษฐกิจอีก 125 พันล้านเหรียญสหรัฐในทุก ๆ ปี 55 ผู้ที่ได้รับผลกระทบเลวร้ายที่สุดคือประเทศกำลังพัฒนาในแอฟริกา รวมถึงประเทศที่ถูกคุกคามอย่างหนักอื่น ๆ ในเอเชียใต้ และประเทศเล็ก ๆ ที่เป็นหมู่เกาะ
ยิ่งไปกว่านั้น 99% ของประชากรที่เสียชีวิตจากภัยธรรมชาติ อยู่ในทวีปเอเชีย
โรคภัยที่มีแมลงเป็นพาหะ
ยุงซึ่งเป็นพาหะโรคไข้เลือดออกกำลังถูกพบเห็นเป็นครั้งแรกในปิอูรา [เปรู] และพวกมันได้กระจายสู่พื้นที่ใหม่ ๆ เนื่องจากสภาวะอากาศที่เปลี่ยนแปลง56
ยังมีความเสี่ยงของโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ ที่เพิ่มสูงขึ้น เช่น มาลาเรีย เพราะยุงมีการแพร่กระจายไปสู่บริเวณที่สูงขึ้น องค์การสหประชาชาติเกรงว่าประชากรหลายร้อยล้านคนในแอฟริกากำลังอยู่ในความเสี่ยง 57
(โปรดดูที่ภาคผนวก 8 สำหรับตอนหนึ่งของบทความหกองศา: อนาคตของเราบนโลกที่ร้อนขึ้น โดย มาร์ค ไลนัส)